จุฑาทิพย์ บัวทอง

จุฑาทิพย์  บัวทอง
JUTATHIP BUATHONG

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิจัยคณิตศาสตร์ ม.2


 




ชื่อเรื่อง ผลของการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้น



มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งคา “บุณยขจรประชาอาสา” โดยใช้ที่คันหนังสือช่วยจำ


ปัญหาและสาเหตุ


จากการเรียนการสอนในชั้นเรียนเรื่องการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม ผู้วิจัยได้พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน ไม่คิดคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมได้ เนื่องจากไม่สามารถบอกสูตรของการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดหาวิธีการที่จะทำให้นักเรียนจดจำสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยมและสามารถคิดคำนวณหาพื้นที่ได้ โดยให้นักเรียนจัดทำที่คั่นหนังสือช่วยจำ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย


1. เพื่อให้นักเรียนจดจำสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยมได้


2. เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมได้


3. เพื่อบูรณาการงานศิลปะกับวิชาคณิตศาสตร์


4. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียน


วิธีการวิจัย


1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554


จำนวน 20 คน


2. วิธีการและนวัตกรรมที่ใช้


2.1 จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม ดังนี้


- ให้นักเรียนหาข้อมูลสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยมจากแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนรู้จัก เช่น หนังสือใน


ห้องสมุด สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต สอบถามจากเพื่อนและครู


- ให้นักเรียนจัดทำที่คั่นหนังสือ ที่มีสองด้าน ด้านหน้าให้นักเรียนเขียนชื่อ , E-MALL


ด้านหลังเขียนสูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม โดยตกแต่งด้วยสีให้สวยงาม


และให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของสูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม


- นักเรียนและครูร่วมกัน หาเทคนิคการจดจำสูตร โดยฝึกให้นักเรียนสังเกตคุณสัมบัติของ


รูปสี่เหลี่ยมต่าง ๆ


- ครูให้นักเรียนฝึกท่องสูตรพื้นที่ โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน


- ครูทำการทดสอบนักเรียน โดยการให้ท่องสูตรการหาพื้นที่กับครูทีละคน


- ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการหาพื้นที่ คิดคำนวณหาพื้นที่จากง่ายไปยาก


2.2 แบบทดสอบการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม


3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล


1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในขณะจัดทำที่คั่นหนังสือ


2. สังเกตผลงานการทำที่คั่นหนังสือ


3. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน


4. สังเกตการมีส่วนร่วมในการคิดหาเทคนิคในการจดจำสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยม


5. คะแนนการท่องสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยม


6. รวบรวมข้อมูลจากแบบฝึกหัดการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม


7. รวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม


4. การวิเคราะห์ข้อมูล


1. สังเกตความถูกต้องและความแม่นยำในการท่องสูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมของนักเรียน


2. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคำนวณ จากคะแนนแบบฝึกหัด


3. วิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบ ทั้งก่อนและหลังร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ






5. ช่วงเวลาดำเนินงาน


25 สิงหาคม 2554 – 30 สิงหาคม 2554


6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


- จากการให้นักเรียนจัดทำที่คั่นหนังสือช่วยจำ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการหาข้อมูล


นักเรียนสามารถจัดทำที่คั่นหนังสือได้ถูกต้องและสวยงาม และจากการให้นักเรียนท่อง


สูตรพื้นที่สี่เหลี่ยม ในครั้งที่ 1 นักเรียน จำนวน 15 คนสามารถท่องได้ แต่นักเรียนจำนวน


5 คน สามารถท่องได้ถูกต้องในครั้งที่ 2


- หลังจากที่นักเรียนสามารถท่องสูตรการหาพื้นที่ได้แล้ว ผู้วิจัยจึงให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด


การหาพื้นที่จากง่าย ไปยาก ซึ่งนักเรียนสามารถคิดคำนวณหาพื้นที่ได้


- จากการวิเคราะห์ข้อมูลของคะแนนแบบทดสอบเรื่องการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม


นักเรียนได้คะแนนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน


สรุปและสะท้อนผล


จากการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งคา “บุณยขจรประชาอาสา” โดยใช้ที่คันหนังสือช่วยจำ พบว่านักเรียนมีความสุขการทำสื่อช่วยจำใช้เอง และนักเรียนสามารถจดจำสูตรของการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมได้ ทำให้สามารถคิดคำนวณเกี่ยวกับการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง อีกทั้งนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ


1. เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยจำ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนเรื่องอื่นๆ ได้ เช่นพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นม.3


2. เพื่อให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ ครูควรเน้นแบบฝึกทักษะควบคู่กับการใช้ที่คั่นหนังสือช่วยจำ


วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิจัยคณิตศาสตร์ ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ "เด็กไทยไม่ชอบเรียนคณิต"



1.วิจัยเรื่อง ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้   "เด็กไทยไม่ชอบเรียนคณิต"

2.ชื่อผู้วิจัย  นางสาวจุฑาทิพย์  บัวทอง

3. ปัญหา   ในปัจจุบันนักเรียนที่ชอบคณิตศาสตร์มีจำนวนน้อยมาก
   นักเรียนส่วนใหญ่มักจะมีอคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากหลาย
   สาเหตุด้วยกัน  เช่น เนื้อหาทีครูสอน ยากเกินไป ไม่เหมาะกับ
   ผู้เรียน   ครูผู้สอนดุเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาปรึกษา
   หรือซักถามได้หรือนักเรียนมีพื้นฐานที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
   จึงไม่เปิดใจรับความรู้ใหม่ ๆ ประกอบกับความก้าวหน้าของ
   เทคโนโลยี  ทำให้ความสนใจในการคิดน้อยลง  ทุกอย่างในการ
   คำนวณมักจะพึ่งพาสมองดิจิตอล  ทำให้ขาดการคิดเเละนักเรียน
   โดยส่วนใหญ่ก็มักจะใช้เวลาว่างไปกับการอยู่กับโลกออนไลน์ 
   ไม่สนใจเรียน ไม่สนใจทำการบ้าน   ขาดความต่อเนื่อง
   ในการเรียน เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องฝึกฝน 
    อยู่เป็นประจำ จากขึ้นง่าย ไปปานกลาง สู่ยาก

4. กลุ่มเป้าหมาย   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 38 คน
                               
5. ระยะเวลาดำเนินงาน   ตลอดปีการศึกษา 2553

6. สถานที่ทดลอง  โรงเรียนบ้านทุ่งคา"บุณยขจรประชาอาสา"

7. วิเคราะห์สาเหตุ
     ผู้ปกครอง    -ไม่มีพื้นฐานความรู้ที่จะสอนลูกได้ 
                          -ไม่มีเวลาให้กับลูก 
     ครู                - ครูไม่มีเทคนิคการสอนที่ดี  ครูไม่ใช้สื่อการสอน
                            ครูไม่วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล 
                         - ครูมีความรู้ในเนื้อหาที่สอนไม่เพียงพอ  
                         - ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก  
                         - ครูวางตัวเป็นที่เกรงขาม
                            นักเรียนไม่กล้าเข้ามาปรึกษา   
                         - ครูใช้เเบบฝึกหัด  เเบบทดสอบที่ยากเกินไป 
    โรงเรียน       โรงเรียนไม่มีการบริหารจัดการที่ดี 
                         ไม่เห็นความสำคัญของสื่ออุปกรณ์
                         ขาดสื่อการเรียนการสอน
    นักเรียน        - นักเรียนมีพื้นฐานที่ไม่ดี  นักเรียนไม่สนใจเรียน 
                           นักเรียนขาดวินัยในตนเอง
                        - ไม่ทำการบ้านส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน
                           ไม่ต่อเนื่องทำให้ไม่เข้าใจในที่สุด  

8. เเนวทางการเเก้ไข
    -  ทำการวัดเจตคติของผู้เรียนต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ 
        เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากด้านใดเป็นส่วนใหญ่
        จากตัวนักเรียน จากครู ผู้ปกครอง หรือโรงเรียน  
        เพื่อจะได้หาเเนวทางในการเเก้ไข
   -   สิ่งที่ปรับปรุงที่พัฒนาได้ง่ายที่สุดคือตัวเเปรของครู 
        เช่น บุคลิคที่ดีของครูสอนคณิต การใช้เทคนิคการ
        สอนที่เเปลกใหม่ทันสมัย   มีการใช้สื่อการสอน 
        เลือกใช้เเบบฝึกหัดเเละเเบบทดสอบได้ถูกต้องกับ
        กลุ่มนักเรียน  ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลส่งเสริมการ
        พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
   -  ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง  ในการช่วยดูเเลนักเรียน
       เรื่องการทำการบ้านให้นักเรียนทำการบ้านอย่างสม่ำเสมอ

9.  การดำเนินงาน
     -  ให้นักเรียนทำเเบบวัดเจตคติวิชาคณิตศาสตร์
         เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากปัจจัยใดเป็นส่วนใหญ่
     -  ครูศึกษาข้อมูลการชอบเรียนของนักเรียนในรายวิชาอื่น ๆ
         เพื่อนำเหตุผลที่นักเรียนชอบมาประยุกต์ใช้กับ
        วิชาคณิตศาสตร์ 
     -  ครูศึกษาผลการเรียนย้อนหลังในภาพรวมของนักเรียน
         ทั้งห้อง  เเละนักเรียนรายบุคคลจากผลการเรียนในระดับ
         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
     - ใช้วิธีการสอนที่เริ่มจากง่ายไป ปานกลาง เเละยาก 
        เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในทุกระดับเเบบขั้นบันได  
     -  ก่อนสอนทุกครั้งต้องมีการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเร้า
         ความสนใจ เช่น เล่านิทานคณิตศาสตร์  นิทานธรรมะ 
         สอนเทคนิค คิดเลขเร็ว  เกมไม้ขีด  เกมซูโดกุ 
         ท่องสูตรคูณถอยหลัง ร้องเพลง  ดูคลิปวิดีโอ 
         เพลงคณิตศาสตร์   ฯลฯ 
     -  ครูใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย  เช่น โครงงาน 
        เพื่อนสอนเพื่อน  การทดลอง การสาธิต นักเรียนฝึก-
        ปฏิบัติจริง
     -  ครูใช้เเบบฝึกทักษะเเละเเบบทดสอบที่หลากหลาย
         เช่น อัตนัย ปรนัย  ถามตอบ  ทำเเบบทดสอบออนไลน์
         ใช้เเบบฝึกหัดที่หลากหลาย  เน้นความรู้เเต่เเฝงความ
         สนุกสนาน  ใช้การฝึกปฏิบัติซ้ำมีความจำเป็น
         สำหรับการสอนนักเรียนที่มีพัฒนาการทางกาเรียนช้า
         ทำเเบบทดสอบที่เเตกต่างกันหลากหลายระดับ
     -  ครูฝึกให้นักเรียนมีวินัยในการส่งการบ้านโดยให้ผู้ปกครอง
         มีส่วนร่วมในการดูเเลลูกคือหลังจากทำการบ้านเสร็จ
         เเล้วให้ผู้ปกครองลงลายมือชื่อทุกครั้ง  เเละนักเรียนจะ
        ได้คะเเนนเพิ่มหากมีลายมือชื่อจากผู้ปกครอง
     -  ครูใช้จิตวิทยาในการสอนให้มากขึ้น     ไม่ดุด่านักเรียน
        ในห้องเรียน  ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ
        เรียกชื่อนักเรียนที่กำลังคุยเพื่อซักถาม  หรือ
        ให้นักเรียนออกมาเเสดง วิธีคิดหน้ากระดาน 
        ซึ่งครูควรให้ความสนใจกับนักเรียนทุกคคนเท่าเทียมกัน 
     - ครูควรวางตัวให้เหมาะสม  ไม่ดุด่านักเรียนจนเกินไป 
        ดูเเลนักเรียนให้อยู่ในขอบเขต   เปิดโอกาสให้นักเรียน
        ซักถามข้อสงสัยได้ตลอดเวลา
     - ครูควรคำนึงถึงความเเตกต่างระหว่างบุคคล 
       ไม่ควรคาดหวังกับนักเรียนที่มี ผลการเรียนต่ำ
       เทียบเท่ากับนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับดี 
       เเต่ให้นักเรียนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้อย่างมีความสุข  

10.  สรุปผลการดำเนินงาน
      นักเรียนมากว่า ร้อยละ 90  ชอบเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น
      กล้าที่จะซักถามปัญหา กล้าเเสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม
      ในชั้นเรียนเเละนอกห้องเรียนมากขึ้น     มีผลสัมฤทธิ์ทาง
      การเรียนที่ดีขึ้น มีพัฒนาการที่ดีตามศักยภาพของเเต่ละบุคคล   
       เเละมีระเบียบวินัยในการส่ง   การบ้านมากขึ้น  
      
11. อภิปรายผล
      การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สิ่งที่สำคัญคือเจตคติ 
      การชอบในสิ่งที่ทำ  หากนักเรียนเริ่มต้นทำในสิ่งที่ชอบ
      เเล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นการใช้กลวิธีต่าง ๆ
      ที่ทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญเเละสิ่งที่
      ตามมาคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ 
      ทุกสิ่งทุกอย่างจะพัฒนาในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ

12. ข้อเสนอเเนะ
     - ผู้วิจัยควรจะนำเสนอการพัฒนาผู้เรียนจากปัญหา
        เเต่ละด้านควบคู่กันไป เเต่ศึกษาเเต่ละประเด็นให้ลึกซึ้ง  
     - การใช้เเบบวัดเจตคติต้องเป็นเเบบวัดที่ครอบคลุมในทุก ๆด้าน


  

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จุฑาทิพย์ บัวทอง: อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเเละจรรยาบรรณ

จุฑาทิพย์ บัวทอง: อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเเละจรรยาบรรณ

อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเเละจรรยาบรรณ

อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเเละจรรยาบรรณของ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ศูนย์การพัฒนาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ระหว่างวันที่ 27 - 29 เมษายน 2554
ณ วัดอนุภาษกฤษฎาราม  อ.กระทู้  จ.ภูเก็ต


















ความรู้ที่ได้รับ

ได้รับความรู้ที่จะพัฒนาตนให้เป็นคนดี เป็นครูที่ดี
มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง
นักเรียนเเละคนรอบข้าง ให้เป็น คนเก่ง ดี มีสุข 
 อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข 

กิจกรรมนอกห้องเรียน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

นักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 3  คน เเละคุณครูจุฑาทิพย์ บัวทอง 
คุณครูสุภาพรรณ์  กาญจนวิวิญเข้าร่วมกิจกรรม 
สองวัน หนึ่งคืน  ณ เขต 10  จ.ภูเก็ต
นักเรียนเเละครูได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนหลากหลายเทคนิค























เยี่ยมบ้านนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งคา "บุณยขจรประชาอาสา" จ.ภูเก็ตประจำปี 2554

เยี่ยมบ้านนักเรียนชั้น ม.1 (ครูจุฑาทิพย์ บัวทอง เเละครูสุวารี  การดี)

การเยี่ยมบ้านนักเรียนทำให้ครูเเละผู้ปกครองให้ร่วมเเลกเปลี่ยน
ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน  ส่งผลดีต่อการร่วมกัน
หาเเนวทางเเก้ไข  พัฒนา ส่งเสริมนักเรียนเเต่ละบุคคล 








ประโยชน์จากการเยี่ยมบ้านนักเรียน

1 เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน
2.นำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลมาประกอบในการ
วางเเผนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.ทำให้เข้าใจสภาพ ความเเตกต่างทางครอบครัว
 ฐานะ เพื่อนส่งเสริมการจัดระบบทุนการศึกษา
4 ทราบปัญหาของนักเรียนรายบุคคล ลึกซึ้งกว่าเดิม
เป็นข้อมูลในการร่วมกันเเก้ไขปัญหาของนักเรียน
5 รายงานพฤติกรรมของนักเรียนขณะอยู่ที่รร.ให้ผู้ปกครอง
ทราบทั้งด้านบวกเเละด้านลบ

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เยี่ยมบ้านนักเรียนประจำปี 2554



การได้เยี่ยมบ้านนักเรียน  ทำให้ทราบปัญหาของนักเรียน 
เเละหาเเนวทางเเก้ไขได้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก 
นักเรียน ม.1  โรงเรียนบ้านทุ่งคา บุณยขจรประชาอาสา
อ.เมือง  จ.ภูเก็ต   จำนวน 39 คน  ไปเยี่ยมครบ 100%




ปลูกป่าชายเลน เกาะสิเหร่ จ. ภูเก็ต (นักเรียนชั้นม.1-3)

บริเวณที่ปลูกป่าครั้งนี้เคยปลูกมาเเล้วหลายครั้งเเต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งคา  ชั้นม.1-3  เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่
อังคารที่ 9 สิงหาคมเวลา 13.00 น. เเม้อากาศจะร้อนมาก
 เเต่ทุกคนก็มีรอยยิ้ม ที่ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้















My hi5

My hi5
My hi5